ดวงจันทร์และวงแหวนของดาวเสาร์อาจมีอายุน้อยกว่าไดโนเสาร์

สถาบันสำหรับค้นหาข้อมูลจากนอกโลก หรือ Search for Extra-terrestrial Intelligence Institute (SETI) เผยว่า โมเดลคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ได้แสดงหลักฐานว่าดวงจันทร์ที่อยู่ใกล้ดาวเสาร์รวมถึงวงแหวนนั้นจริงๆแล้วเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาไม่นาน โดยเฉพาะหากคิดว่าตัวดาวเสาร์เองและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆในระบบสุริยะของเรานั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4.5 พันล้านปีที่แล้ว

การค้นพบครั้งนี้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลวงโคจรจากดวงจันทร์ต่างๆของดาวเสาร์ เนื่องจากดาวเสาร์นั้นมีดวงจันทร์หลายดวงโคจรอยู่รอบตัวมัน พวกมันจึงต้องใช้พื้นที่ร่วมกัน ซึ่งหมายความว่าวงโคจรของดวงจันทร์เหล่านี้นั้นได้รับผลกระทบจากดวงจันทร์ดวงอื่นๆในกลุ่มนั่นเอง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปนานมากขึ้น วงโคจรเหล่านี้ก็จะยืดออกและขยายตัวใหญ่ขึ้น

จากเหตุผลดังกล่าวทำให้คิดได้ว่าดวงจันทร์ที่มีอายุน้อยกว่านั้นน่าจะมีวงโคจรแบบธรรมดามากกว่าดวงจันทร์ที่มีอายุนานเพราะพวกมันมีเวลานานหลายพันล้านปีเพื่อที่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
จากการเปรียบเทียบการเอียงของวงโคจรกับผลการคาดการณ์จากการจำลองโดยคอมพิวเตอร์แล้ว นักวิจัยสามารถรู้ได้ว่าวงโคจรของดวงจันทร์ที่อยู่รอบๆดาวเสาร์นั้นใหญ่ขึ้นมากแค่ไหน ซึ่งปรากฏว่าสำหรับดวงจันทร์ที่มีความสำคัญที่สุดอย่าง Tethys, Dione, และ Reah นั้นมีวงโคจรที่มีความเปลี่ยนแปลงน้อยมากกว่าที่เคยคิดกันไว้”

image

จากการสังเกตดังกล่าว นักวิจัยได้ใช้ข้อมูลจากภารกิจ Cassini ของนาซ่าเพื่อสร้างการจำลองขึ้นมา ซึ่งเมื่อทำทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางทีมนักวิจัยพบว่าดวงจันทร์หลายๆดวงของดาวเสาร์ที่ไม่ใช่ดวงที่อยู่ไกลออกไปมากๆ อย่าง Titan นั้นมีแนวโน้มที่จะก่อตัวขึ้นเมื่อ 100 ล้านปีก่อน หมายความว่าดวงจันทร์หลายดวงของดาวเสาร์นั้นก่อตัวขึ้นในยุค Cretaceous ของโลก ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์ชนิดโปรดของเราหลายชนิดนั้นยังมีชีวิตอยู่

ซึ่งพวกเขาหวังว่าการค้นพบนี้จะช่วยให้เราตัดสินอายุของดวงจันทร์ดวงอื่นๆทั้งในและนอกระบบสุริยะได้ มันเป็นเรื่องน่าทึ่งทีเดียวที่คิดว่าดวงจันทร์นั้นก่อตัวขึ้นในระบบสุริยะของเราในระหว่างช่วงเวลาบนโลกที่เราสามารถที่จะนึกถึงได้ ซึ่งถึงแม้ว่ามันจะเป็นเวลาที่ผ่านมานานมากแล้วก็ตาม แต่ถ้าหากพูดในด้านของอวกาศแล้วล่ะก็ มันเหมือนกับว่ามันเพิ่งขึ้นเมื่อวานนี้เท่านั้นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : vcharkarn | sciencealert | arxiv

ใส่ความเห็น